fbpx

เกษตร 4.0 กับการสร้างแบรนด์

แชร์ :

Share on facebook
Share on twitter
Share on email

อ่านแล้ว

ครั้ง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย จัดงาน ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภายในงานมีการจัดสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการนำดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ทำการเกษตร หนึ่งในนั้นได้แก่หัวข้อ Product Design & Marketing Design ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แบรนด์สินค้าเกษตรนั้นสำคัญไฉน สร้างอย่างไรให้ยั่งยืน

         ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของการทำเกษตรในยุค 4.0 ก็คือการที่เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกอบการมากขึ้นในรูปแบบของการปลูกเอง ขายเอง มีการสร้างแบรนด์ การสร้างเอกลักษณ์ การสร้างเรื่องราว (story) ที่มาที่ไปของสินค้า เพื่อยกระดับให้น่าซื้อยิ่งขึ้น

ดร.ศิริกุล กล่าวว่า “การสร้างแบรนด์ คือการยกระดับสินค้าเกษตรที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจมากขึ้น เมื่อเกษตรกรมีแบรนด์เป็นของตัวเอง ก็จะสามารถกำหนดราคาซื้อขายเองได้ และก้าวผ่านในเรื่องของการต่อรองราคา หรือขอส่วนลด ขอของแถมได้มากขึ้น”

แต่กว่าเกษตรกรจะมีแบรนด์เป็นของตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีการวางแผน หาไอเดีย หรือทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้ซื้อเห็นแบรนด์หรือโลโก้เพียงครั้งเดียวแล้วจดจำได้ แต่แบรนด์ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ทำให้ยอดจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะต้องอาศัยองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าที่จะทำให้ผู้บริโภคกลับมาซื้อในครั้งถัดไป…จึงเกิดคำถามขึ้นว่า เกษตรกรจะเริ่มสร้างแบรนด์อย่างไร?

นอกจากแบรนด์แล้ว คุณภาพของสินค้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคกลับมาซื้อสินค้าอีก

1. เข้าใจปัญหา รู้จักตัวเอง และต้องตีโจทย์ให้แตกว่า กลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อสินค้าในแบรนด์ที่สร้างขึ้นนั้นคือใคร  อายุเท่าไร ประกอบอาชีพอะไร พฤติกรรมการบริโภคเป็นอย่างไรฯลฯ

2. จุดชนวนความคิด หาไอเดียในการสร้างแบรนด์หรือโลโก้ เช่น รูปภาพ รูปการ์ตูน ตัวหนังสือ สัญลักษณ์

3. ลงมือทำอย่างมีเป้าหมาย ออกแบบโลโก้ตามที่จินตนาการไว้ให้ได้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างก่อน จากนั้นวิเคราะห์ว่าเหมาะสมหรือสอดคล้องกับบรรจุภัณฑ์ด้วยหรือไม่ แล้วจึงค่อย ๆ ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม เสริมไอเดียลงไป จนกว่าโลโก้ที่ได้จะสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการจะนำเสนอ

สำหรับเกษตรกรที่กำลังจะสร้างแบรนด์ ลองนำหลักการเบื้องต้นนี้ไปพิจารณาดูก่อน เพราะยุคนี้ใคร ๆ ก็หันมาสร้างแบรนด์ แต่จะสร้างแบรนด์อย่างไรให้ยั่งยืน คือโจทย์ที่คนสร้างแบรนด์จะต้องตีให้แตก

>>ความคิดสร้างสรรค์…ศาสตร์หนึ่งของการสร้างจุดขายให้กับสินค้า

ดร.สิริพร กอบนิธิกุลวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กลยุทธ์หนึ่งในการยกระดับสินค้าเกษตรและยกระดับเกษตรกร ก็คือการนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในการจำหน่ายสินค้า ตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์ของอาชีพอื่น ๆ ที่ทำให้ลูกค้าจดจำได้นั้น เช่น 1. พ่อค้าขนมปลากริมไข่เต่า ใส่สูทผูกเนกไทมาขายขนมทุกวัน 2. ซูชิราคาชิ้นละ 10-20 บาท แต่พ่อค้าแม่ค้าแต่งตัวเป็นเชฟมาขายซูชิ 3. เครปยี่ห้อหนึ่งที่มีลูกค้ามาต่อคิวรอกันหลายชั่วโมง เพราะจุดขายก็คือวิธีการทำที่ละเมียดละไม โดยความคิดสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ลูกค้าจดจำได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ รสชาติของสินค้า เพราะการซื้อในครั้งต่อไป ลูกค้าจะซื้อที่รสชาติมากกว่าความแปลกของรูปแบบการขาย

ความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับการขายสินค้าเกษตรนั้นมีหลายช่องทาง หนึ่งในนั้นได้แก่การสร้างเรื่องราวผ่านตัวหนังสือ ภาพถ่าย ภาพวาด ยิ่งปัจจุบันสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตราแกรม เว็บไซต์ ได้มีวิวัฒนาการในการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ทุกคนสามารถนำเสนอสินค้าและเรื่องราวของตนเองได้ง่ายขึ้น ผู้บริโภคจึงรู้จักและสั่งซื้อสินค้าจากเกษตรกรได้ง่ายขึ้นด้วยนั่นเอง

https://www.kehakaset.com/articles_details.php?view_item=407

แชร์ :

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp
Share on email
Email

1 การตอบสนองที่"เกษตร 4.0 กับการสร้างแบรนด์"

ฝากข้อความ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ! โอทอป “มะดัน” นครนายก สร้างยอดขายเดือนละแสน ผ่านHerbs Starter สตาร์ทอัปด้านเกษตร

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทบกับตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือโอทอปเป็นอย่างมาก การจัดงานแสดงสิ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ AgTech4OTOP

หรือ